• รูปแบบที่ 1 คิดตามจริง รูปแบบนี้สำหรับหอพักที่คิดค่าน้ำตามจำนวนที่ใช้งานจริง
• ตัวอย่างเช่น คิดค่าน้ำหน่วยละ 15 บาท ถ้าใช้น้ำไป 2 หน่วย ก็จ่าย 30 บาท
• รูปแบบที่ 2 คิดตามจริงมีขั้นต่ำเป็นจำนวนเงิน รูปแบบนี้สำหรับหอพักที่คิดค่าน้ำตามจำนวนที่ใช้จริง แต่มีจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายกำหนดไว้
• ตัวอย่างเช่น คิดค่าน้ำหน่วยละ 15 บาท ขั้นต่ำ 100 บาท ถ้าใช้น้ำไป 2 หน่วย ซึ่งคิดเป็นเงิน 30 บาท แต่ต้องจ่าย 100 บาท เนื่องจากกำหนดขั้นต่ำที่ต้องจ่ายไว้ 100 บาท
• รูปแบบที่ 3 คิดตามจริงมีขั้นต่ำเป็นยูนิต รูปแบบนี้สำหรับหอพักที่คิดค่าน้ำตามจำนวนที่ใช้จริง แต่มีจำนวนหน่วยขั้นต่ำกำหนดไว้
• ตัวอย่างเช่น คิดค่าน้ำหน่วยละ 15 บาท ขั้นต่ำ 7 หน่วย คิดเป็นเงิน 100 บาท ถ้าใช้น้ำไป 5 หน่วย ต้องจ่ายเงิน 100 บาทเพราะน้อยกว่า 7 หน่วย แต่ถ้าใช้น้ำไป 7 หน่วย ซึ่งคิดเป็นเงิน 105 บาท จ่ายแค่ 100 บาทเพราะยังไม่เกิน 7 หน่วย แต่ถ้าใช้น้ำ 8 หน่วย ต้องจ่ายเงินเท่ากับ 8 หน่วย คูณ 15 บาทเพราะเกิน 7 หน่วยที่กำหนดไว้
• รูปแบบที่ 4 คิดตามจริง บวกส่วนต่างจากราคาขั้นต่ำ รูปแบบนี้สำหรับหอพักที่คิดค่าน้ำตามจำนวนที่ใช้จริง หากใช้เกินจำนวนขั้นต่ำ จะมีการบวกราคาส่วนต่าง
• ตัวอย่างเช่น คิดค่าน้ำหน่วยละ 15 บาท ขั้นต่ำ 5 หน่วย เหมาจ่าย 60 บาท ถ้าใช้น้ำไป 5 หน่วย เหมาจ่าย 60 บาท แต่ถ้าใช้เกินเป็น 6 หน่วย จะต้องจ่ายเงิน 75 บาท เพราะเกินขั้นต่ำมา 1 หน่วย (หน่วยละ15 บาท)
• รูปแบบที่ 5 เหมาจ่ายรายเดือน รูปแบบนี้สำหรับหอพักที่คิดค่าน้ำแบบเหมาห้อง หรือเหมาแบบจำนวนคนให้เลือกวิธีนี้
• ตัวอย่างเช่น กำหนดให้เหมาจ่ายรายเดือนห้องละ 100 บาท หมายถึงใช้น้ำกี่หน่วยก็จ่ายค่าน้ำ 100 บาท ซึ่ง ถ้าแต่ละห้องเหมาไม่เท่ากันให้เติมราคาของห้องส่วนใหญ่แล้ว ค่อยกลับไปแก้ห้องส่วนน้อยทีหลัง ซึ่งสามารถดูวิธีแก้ไขได้ในหัวแก้ไขค่าต่างๆ
• รูปแบบที่ 6 เหมาจ่ายรายหัว รูปแบบนี้สำหรับหอพักที่คิดค่าน้ำแบบเหมาจ่ายเป็นรายคน
• ตัวอย่างเช่น กำหนดให้เหมาจ่ายรายคน หัวละ 100 บาท หากห้องพักนั้นมี 2 คน จะต้องจ่ายค่าน้ำ 200 บาท